วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

Chapter 7 Storage

 
Chapter 7 Storage
 
ฮาร์ดดิส์ (Harddisk)
 
      ฮาร์ดดิคส์ เรียกอีกอย่างว่า Fix Disk เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทหนึ่ง (Storage Device) ปัจจุบันเป็นอุปกรณ์ ที่จำเป็น และ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ใช้ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการลงโปรแกรม ประยุกต์และ เก็บข้อมูลของผู้ใช้ เนื่องจากโปรแกรม หรือข้อมูลในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถที่จะเก็บ ลงในแผ่นดิสเก็ต ได้หมด ฮาร์ดดิสค์ จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้อง การเปิดออกจะต้อง เปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้อง ออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เป็นแบบติดภายในเครื่องไม่ เคลื่อนย้ายเหมือนแผ่นดิสเก็ต ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร ์(Winchester Disk)

หน่วยความจำ (Memory)
 
 Read-Only Memory (ROM) หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (รอม)
     หน่วย ความจำหลักของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บคำสั่งไว้อย่างถาวรและยังคงมีคำสั่ง เหล่านี้เก็บอยู่  ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องแล้วก็ตาม รอมจะบรรจุโปรแกรมระบบที่สำคัญไว้โดยที่เราหรือคอมพิวเตอร์เองก็ไม่สามารถลบ ทิ้งได้ทั้งนี้เพราะเป็นชิปที่ผู้ผลิตได้บรรจุคำสั่งไว้อย่างถาวร เนื่องจากหน่วยความจำภายในของคอมพิวเตอร์จะว่างเปล่า เมื่อมีการเปิดเครื่อง จึงทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานใดๆ ได้ถ้าไม่ให้คำสั่งในการเริ่มต้น ซึ่งคำสั่งเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในรอมนั่นเอง

Random-Access Memory (RAM) หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (แรม)
     หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า แรม เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บคำสั่งและข้อมูล เพื่อสามารถเข้าถึงโดยตรงในการควบคุมการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง โดยผ่านทางบัสข้อมูลภายนอกความเร็วสูง ชื่อแรมมักจะเรียกว่าหน่วยความจำอ่าน/บันทึกเพื่อเป็นการแบ่งแยกจากหน่วย ความจำอ่านอย่างเดียวหรือรอม (ROM) ซึ่งเป็นส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่งของหน่วยเก็บหลัก (primary storage) ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในแรมนี้เองที่หน่วยประมวลผลกลางสามารถบันทึกและอ่านข้อมูล โปรแกรมส่วนมากจะจัดส่วนของแรมไว้ต่างหากเพื่อเป็นเนื้อที่ทำงานชั่วคราว สำหรับข้อมูลของเรา เพื่อที่เราจะสามารถบันทึกทับใหม่ได้เท่าที่ต้องการจนกว่าข้อมูลนั้นจะถูกนำ ไปพิมพ์หรือเก็บในหน่วยเก็บรอง (secondary storage) เช่น จานบันทึกแบบแข็งหรือแผ่นบันทึก ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในแรมจะหายไปได้เมื่อมีการปิดเครื่องหรือเมื่อกระแสไฟดับ ดังนั้นเราจึงต้องเก็บบันทึกงานที่ทำอยู่ตลอดเวลาและก่อนที่จะปิดเครื่อง คอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล

Compact Disc (CD) แผ่นซีดี (ซีดี)
       แผ่นพลาสติกกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว (12 เซ็นติเมตร) ที่บันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ บันทึกข้อมูลด้วยสัญญาณดิจิทัลในรูปแบบซีแอลวี (CLV) แผ่นซีดีเป็นมาตรฐานที่พัฒนาร่วมกันโดยบริษัทโซนี และบริษัทฟิลิปส์ มีการประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1980 และจัดอยู่ในมาตรฐานเรดบุ๊ก (Red Book)

ซีดี (CD)
ซี ดีเสียง หรือ ซีดีเพลง หรือ ออดิโอซีดี (audio CD) เก็บสัญญาณเสียงในรูปแบบที่เป็นไปตามมาตรฐานเรดบุ๊ค (red book) ซีดีเสียงประกอบด้วยแทร็คสเตอริโอหลายแทร็ค ที่เก็บโดยการเข้ารหัสแบบ PCM ขนาด 16 บิตด้วยอัตราการสุ่มตัวอย่าง 44.1 kHz
คอมแพค ดิสค์มาตรฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร แต่มีรุ่นขนาด 80 มิลลิเมตรอยู่ในรูปการ์ดขนาดเท่านามบัตรหรือเป็นรูปวงกลม แผ่นดิสค์ขนาด 120 มิลลิเมตร สามารถบันทึกเสียงได้ 74 นาที แต่มีรุ่นที่สามารถบันทึก 80 หรือ 90 นาทีด้วย แผ่นดิสค์ขนาด 80 มิลลิเมตร ใช้เป็นแผ่นซีดีซิงเกิล หรือใช้เป็นนามบัตรประชาสัมพันธ์ เก็บเสียงใช้เพียงแค่ 20 นาที

ดีวีดี (DVD; Digital Video Disc)
เป็น แผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่าเดิมที ดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี (DVD Writer) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี

FLASH MEMORY CARD
1. CompactFlash Card
      เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยผู้ริเริ่มก็คือ Sandisk Corp. ผลิตครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ.
1994 มีน้ำหนักเพียงครึ่งออนซ์ และมีขนาดเท่ากับกล่องไม้ขีดขนาด 43 mm(1.7”)x(0.13”) เท่านั้น โดยด้านหนึ่งจะเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับตัวอ่านข้อมูลโดยจะมีช่องพินถึง 50 พินด้วยกัน ทำให้ง่ายต่อการปรับใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กอื่นๆ การเก็บข้อมูลลักษณะนี้จะให้ความคงทนของข้อมูลค่อนข้างมาก เพราะข้อมูลถูกเก็บในการ์ดทนแรงกระแทกได้มากถึง 10 ฟุตและยังบันทึกข้อมูลได้ยาวนานถึง 100 ปีอีก ด้วยสามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่มีช่อง PCMCIA 68 pin เช่น โน๊ตบุ๊ก ได้โดยใช้คู่กับ PC Card Adapter เพื่อแปลงข้อมูลจาก CompactFlash Card ให้เป็น PCMCIA Card ก่อนเท่านั้นความจุอยู่ที่ 8-512 MB และ 1 GB กล้องดิจิตอลที่สามารถใช้ CompactFlash Card ได้มีหลายยี่ห้อเช่น Nikon, Kodak, Canon,Casio เป็นต้น

2. Ultra CompactFlash Card
      เป็นสื่อที่กำลังมาแรงขณะนี้ เป็นการ์ดที่พัฒนามาจาก Compac tFlashCard โดยมีความเร็วในการโอน ถ่ายข้อมูลได้รวดเร็วขึ้นถึง 2 เท่าคือ 2.8 Mbps. สำหรับการบันทึกขั้นละ 60 Mbps.สำหรับการอ่านวิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมก็จะเป็นประเภทเดียวกับ CompactFlash Card แต่ Ultra CompactFlash Card ผลิตมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีของกล้องดิจิตอลในปัจจุบันที่มีการพัฒนาให้มี ความละเอียดของภาพได้มากขึ้นทำให้ภาพมีความคมชัดเหมือนจริงมากขึ้น แต่เนื่องจากกล้องที่มีความละเอียดของภาพสูงนั้นจะใช้เวลาในการโอนถ่าย ข้อมูลภาพนานเช่นกัน Ultra CompactFlash Card เหมาะสำหรับกล้องดิจิตอลที่มีขนาด 3 ล้านพิกเซลขึ้นไป มีขนาดตั้งแต่ 128 – 512 MB

3. SmartMedia Card
   การ์ดประเภทนี้มีจุดเด่นที่ขนาดเล็กและบางเฉียบ ขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของบัตรเครดิตมีความบางเพียง 0.76 มิลลิเมตรเท่านั้นหนักเพียง 2 กรัมมีข้อควรระวังนิดหน่อยตรงที่แผ่นสีทองที่เป็นตัวเก็บข้อมูลนั้นอยู่ที่ ด้านนอกของการ์ดต้องระวังเรื่องการขูดขีดแผ่นสีทองบนการ์ดเพราะนั่นอาจทำให้ การ์ดของคุณเพราะเวลาซื้อ SmartMedia Card จะมีกล่องใส่การ์ดให้ไปด้วย ขนาดความจุอยู่ที่ 8 – 256 MB กล้องดิจิตอลที่สามารถใช้ SmartMedia Card ได้นั้นมีหลายยี่ห้อ เช่น Fuji,Toshiba, Olympus เป็นต้น

4. MulitMedia Card
      เป็นการ์ดที่มีขนาดเล็กมาก โดยมีขนาดเท่ากับแสตมป์เท่านั้นเหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องพกพาไป
ตาม ที่ต่างๆ ด้วย MultiMedia Card มีขนาดเล็กจึงเหมาะกับอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆได้ สะดวก เช่น โทรศัพท์มือถือ,เครื่อง MP3,ปาล์ม,Digital Camcorders เป็นต้น ข้อได้เปรียบของ MultiMedia Card คือ สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่มีสล๊อต Secure Digital Card ได้ขนาดความจุอยู่ที่ 8 – 128 MB

5. Secure Digital Card (SD Card)
      เป็นการ์ดที่พัฒนามาจาก MultiMedia Card เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือกันระหว่าง 3 บริษัทชั้นนำ ในธุรกิจสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้แก่ Sandisk Corp. ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี Flash Card, Toshiba Corp. และ Panasonic โดยมีการเพิ่มคุณสมบัติความสามารถของการ์ดให้มากขึ้นได้แก่ การเพิ่มอัตราความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลได้เร็วขึ้นถึง 10 MB/sec (มากกว่า MultiMedia Card ถึง 5 เท่า) และมีการเพิ่มเติมในส่วนของการป้องกันการ Copy ข้อมูลซ้ำ มีขนาดความจุอยู่ที่ 8 – 256 MB

6. Memory Stick
ได้รับการพัฒนาโดย Sony มีขนาดเท่ากับแผ่นหมากฝรั่งมีน้ำหนัก 4 กรัมอุปกรณ์ที่ใช้ Memory Stick เช่น กล้องดิจิตอล, กล้องวีดีโอ, เครื่องคอมพิวเตอร์, เครื่อง MP3 เป็นต้น แต่ต้องเป็นยี่ห้อ Sony เท่านั้น เดิมที Memory Stick มีของยี่ห้อ Sony เท่านั้น ทำให้ Memory Stick ราคาค่อนข้างสูงแต่ปัจจุบันโซนี่ได้จับมือกับ Sandisk Corp. ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี Flash Card พัฒนาและผลิต Memory Stick ได้อีกยี่ห้อหนึ่งดังนั้น Memory Stick จึงไม่ได้มีเพียง Sony เท่านั้นแต่ยังมี Sandisk ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ Flash Card อีกด้วย นับเป็นทางเลือกให้ลูกค้าเป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น